เมนู

ตรัสถึงคุณฝ่ายโลกุตระ. ในคำนั้น ทรงแสดงว่า ธรรมนี้ สำหรับผู้
ตั้งอยู่ในความเป็นผู้ไม่อาศัยศิลปะเลี้ยงชีพเป็นต้นเท่านั้น ไม่ใช่เป็นของผู้
อาศัยศิลปเลี้ยงชีพด้วยมิจฉาชีพ เพราะฉะนั้น พวกเธอจงเว้นการถือใน
ศิลปว่าเป็นสาระ แล้วศึกษาในอธิศีลเป็นต้นเท่านั้น.
จบอรรถกถาสิปปสูตรที่ 9

10. โลกสูตร



ว่าด้วยเรื่องทรงตรวจดูโลก



[84] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าแรกตรัสรู้ ประทับอยู่ที่ควงไม้โพธิ์
ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขโดยบัลลังก์เดียวตลอด 7 วัน ครั้งนั้นแลโดยล่วง
7 วันนั้นไป พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากสมาธินั้นแล้วทรงตรวจดู
โลกด้วยพุทธจักษุ ได้ทรงเห็นหมู่สัตว์ผู้เดือดร้อนอยู่ด้วยความเดือดร้อน
เป็นอันมาก และผู้ถูกความเร่าร้อนเป็นอันมากซึ่งเกิดจากราคะบ้าง เกิด
จากโทสะบ้าง เกิดจากโมหะบ้าง แผดเผาอยู่
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง
เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
โลกนี้เกิดความเดือดร้อนแล้ว ถูกผัสสะครอบงำ
แล้ว ย่อมกล่าวถึงโรคโดยความเป็นตัวตน ก็โลก
ย่อมสำคัญโดยประการใด ขันธปัญจกอันวัตถุแห่ง


ความสำคัญนั้น ย่อมเป็นอย่างอื่นจากประการที่ตน
สำคัญนั้น โลกข้องแล้วในภพมีความแปรปรวนเป็น
อื่น ถูกภพครอบงำแล้ว ย่อมเพลิดเพลินภพนั่นเอง
(สัตว์) โลกย่อมเพลิดเพลินสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นภัย
โลกกลัวสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นทุกข์ ก็บุคคลอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์นี้เพื่อจะละภพแล.
ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง กล่าว
ความหลุดพ้นจากภพด้วยภพ (สัสสตทิฏฐิ) เรากล่าวว่า
สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดไม่หลุดพ้นไปจากภพ
ก็หรือสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง กล่าว
ความสลัดออกจากภพด้วยความไม่มีภพ (อุจเฉททิฏฐิ)
เรากล่าวว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดไม่สลัด
ออกไปจากภพ ก็ทุกข์นี้ย่อมเกิดเพราะอาศัยอุปธิทั้ง
ปวงความเกิดแห่งทุกข์ย่อมไม่มี เพราะความสิ้น
อุปาทานทั้งปวง ท่านจงดูโลกนี้ สัตว์ทั้งหลายเป็น
จำนวนมาก ถูกอวิชชาครอบงำหรือยินดีแล้วขันธ-
ปัญจกที่เกิดแล้วไม่พ้นไปจากภพ ก็ภพเหล่าใดเหล่า
หนึ่งในส่วนทั้งปวง (ในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง)
โดยส่วนทั้งปวง (สวรรค์ อบาย และมนุษย์เป็นต้น)
ภพทั้งหมดนั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน
เป็นธรรมดา อันบุคคลผู้เห็นขันธปัญจกกล่าวคือ ภพ
ตามความจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้อยู่ย่อมละภว



ตัณหาได้ ทั้งไม่เพลิดเพลินวิภวตัณหา ความดับด้วย
อริยมรรคเป็นเครื่องสำรอกไม่มีส่วนเหลือ เพราะ
ความสิ้นไปแห่งตัณหาทั้งหลาย โดยประการทั้งปวง
เป็นนิพพาน ภพไม่ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้ดับแล้ว
เพราะไม่ถือมั่น ภิกษุนั้นครอบงำมาร ชนะสงคราม
ล่วงภพได้ทั้งหมดเป็นผู้คงที่ฉะนี้แล.
จบโลกสูตรที่ 10
จบนันทวรรคที่ 3

อรรถกถาโลกสูตร


โลกสูตรที่ 10 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
อาสยานุสยญาณ และอินทริยปโรปริยัตญาณ ชื่อว่า พุทธจักษุ
ในคำว่า พุทฺธจกฺขุนา นี้. สมดังที่ท่านกล่าวคำมีอาทิว่า พระผู้มีพระภาค-
เจ้า เมื่อทรงตรวจดูสัตวโลกด้วยพุทธจักษุได้ทรงเห็นแล้วแล ซึ่งเหล่า
สัตว์ผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อย ผู้มีกิเลสดุจฉุลีในดวงตามาก ผู้มีอินทรีย์
แก่กล้า ผู้มีอินทรีย์อ่อน. บทว่า โลกํ ได้แก่ โลก 3 คือ โอกาสโลก 1
สังขารโลก 1 สัตวโลก 1. ในโลกทั้ง 3 นั้น โอกาสโลก ตรัสไว้ใน
ประโยคมีอาทิว่า
พระจันทร์พระอาทิตย์ เวียนรอบส่องทิศให้
สว่างไสวมีประมาณเท่าใด โอกาสโลก มีประมาณ
พันหนึ่งเท่านั้น อำนาจของท่าน เป็นไปในโอกาส
โลกนี้.